วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562

ประวัติความเป็นมา



ประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีการใช้ผ้าย้อมครามตั้งแต่เมื่อใดแต่มีการผลิตและใช้กันในชนเผ่าภูไท สกลนครเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทยที่ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าย้อมคราม และพัฒนาผ้าย้อมครามให้มีมาตรฐานสามารถนำผลิตภัณฑ์ผ้าครามจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าแทรกตลาดที่กำลังกลับมาบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารเคมีและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการทำผ้าย้อมครามบ้านโคกภู ตำบลโคกภู อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่อพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อเสาะแสวงหาพื้นที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกตั้งรกรากปักฐานจังหวัดสกลนคร ประกอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ ไทญ้อ ไทโย้ย ภูไท ไทกะเลิง ไทโซ่ ไทข่า และไทลาว ชาวอีสานตอนบนมีวัฒนธรรมด้านเครื่องนุ่งห่มใช้สีดำหรือสีน้ำเงินเป็นหลักทุกเผ่าจะมีเสื้อผ้าสีดำหรือน้ำเงินเป็นพื้นแตกต่างกันในรายละเอียดอื่นๆเท่านั้นนิยมนำไปย้อมผ้าและมัดเป็นลายเรียกว่าผ้าย้อมคราม   


การเตรียมสีครามธรรมชาติจากใบครามสด 



  ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ทำสีครามธรรมชาติ จะทำสีครามจากใบครามสด ผู้ทำสีครามต้องระมัดระวัง ตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บใบครามจากต้น ต้องเก็บในเวลาเช้ามืดก่อนที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือชาวเกาหลีจะเก็บใบครามจากต้นมาแล้วพักไว้ใกล้น้ำแข็ง แม้การแช่ใบครามก็แช่ในน้ำแข็ง เมื่อได้ของเหลวสีเขียวสดแล้ว ใช้ย้อมฝ้ายได้ทันที นอกจากนี้ชาวเกาหลียังมีวิธีทำสีครามที่น่าสนใจ อีก 2 วิธีดังนี้ แช่ใบครามสดในหม้อน้ำ หมักไว้นาน 1-3 วัน จึงแยกกากใบครามออก เติมน้ำขี้เถ้าในน้ำครามทันทีในอัตราส่วน น้ำคราม : น้ำขี้เถ้า 1:1 กวนแรงๆ ด้วยพายไม้ไผ่จนกระทั่งเกิดฟองโตขนาดผลมะกอก จึงหยุดกวนพักของเหลาวผสมไว้ 1 สัปดาห์ จะได้สีครามสำหรับย้อมผ้า แช่ใบครามสดในหม้อน้ำ หมักไว้ 1-4 วัน แยกกากใบครามออก เติมปูนขาว ที่ทำจากการเผาเปลือกหอย ในน้ำคราม อัตราส่วน น้ำคราม : ปูนขาว 10 : 1 ปั่นของผสมด้วยไม้ไผ่รูปตัวทีจนกระทั่งเกิดฟองและแตกอย่างเร็ว พักของเหลวผสมไว้ให้ของเหลวส่วนบนใส จึงแยกที่ใสออกแล้วเติมน้ำขี้เถ้าในตะกอนคราม หมักไว้จนได้สีครามสำหรับย้อมผ้า


การเตรียมน้ำครามและเนื้อคราม

                ให้บรรจุต้น กิ่ง ใบครามสดในภาชนะ ใช้มือกดใบครามให้แน่น เติมน้ำให้ท่วมหลังมือแช่ไว้ 10-12 ชั่วโมง จึงกลับใบครามข้างล่างขึ้นทับส่วนบน แช่ต่อไปอีก 10-12ชั่วโมง จึงแยกกากใบครามออก ได้น้ำครามใส สีฟ้าจาง เติมปูนขาว 20 กรัมต่อน้ำคราม 1ลิตร ถ้าชั่งใบครามสด 10 กิโลกรัม ใช้น้ำแช่ 20 ลิตร จะใช้ปูน 400 กรัม หรือเติมทีละน้อยจนฟองครามเป็นสีน้ำเงิน จึงกวนจนกว่าฟองครามจะยุบ พักไว้ คืน รินน้ำใสทิ้ง ถ้าน้ำใสสีเขียวแสดงว่าใส่ปูนน้อย ยังมีสีครามเหลืออยู่ในน้ำคราม ถ้าใส่ปูนพอดี น้ำใสเป็นสีชา หากใส่ปูนมากเกินไป เนื้อครามเป็นสีเทา ใช้ไม่ได้ เนื้อครามดี ต้องเนื้อเนียนละเอียด สีน้ำเงินสดใสและเป็นเงา ซึ่งอาจเก็บเป็นเนื้อครามเปียกหรือเนื้อครามผงก็ได้ขึ้นอยู่กับการใช้งานในขั้นตอนก่อหม้อ อย่าเชื่อว่าแช่ใบครามนานแล้วจะได้สีครามมากเพราะผลการวิจัยปรากฏชัดว่า เมื่ออุณหภูมิคงที่ สีครามตั้งต้นในใบครามจะถูกสลายให้สีครามออกมาอยู่ในน้ำครามได้มากที่สุดในเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น การแช่ใบครามที่ใช้เวลาน้อยหรือมากจนเกินไป จะได้สีครามเร็วให้แช่ใบครามในน้ำอุ่นไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส หรือโขลกใบครามสดในครกกระเดื่องและแช่ในน้ำที่อุณหภูมิปกติเพียง 12ชั่วโมง
  การก่อหม้อครามเตรียมน้ำย้อม
                     ชั่งเนื้อครามเปียก (indigo blue) 1 กิโลกรัมผสมน้ำขี้เถ้า ลิตร ในโอ่งดิน โจกน้ำย้อม ทุกเช้า – เย็น สังเกต สีกลิ่น และฟอง วันที่ ใช้มะขามเปียก 100 กรัมต้นกับน้ำ 1ลิตร พักให้เย็น ผสมลงไปในโอ่งน้ำย้อม โจกครามทุกวันและสังเกตต่อไป ซึ่งน้ำย้อมจะใสขึ้น เปลี่ยนเป็นสีเขียวปนน้ำเงิน กลิ่นหอมอ่อน ฟองสีน้ำเงิน โจกครามทุกวันจนกว่าน้ำย้อมจะเป็นสีเหลืองอมเขียวหรือเขียวยอดตอง ขุ่นข้น ฟองสีน้ำเงินเข้มวาว ไม่แตกยุบ แสดงว่าเกิดสีคราม (indigo white) ในน้ำย้อมแล้ว ซึ่งใช้เวลาทั้งหมดประมาณ วัน

 การเตรียมน้ำขี้เถ้า
  น้ำขี้เถ้าที่ใช้ ทำมาจากขี้เถ้าของไม้บางชนิดเท่านั้น และต้องเตรียมให้ได้ความเค็มคงที่ หรือ ถ.พ. 1.05 ซึ่งโดยทั่งไปมักใช้เหง้ากล้วยเป็นหลัก เพราหาง่ายและทำให้สีครามติดฝ้ายได้ดีเตรียมโดยสับเหง้ากล้วยเป็นชิ้น ๆ ผึ่งแดดพอหมาด นำมาเผารวมกับทางมะพร้าว เปลือกผลนุ่นฯลฯ จนไหม้เป็นเถ้า ใช้น้ำพรมดับไฟ รอให้อุ่นจึงเก็บในภาชนะปิด ถ้าทิ้งไว้ให้ขี้เถ้าเย็น การละลายของเกลือในขี้เถ้าจะน้อยลง หรือถ้ารดน้ำดับไฟแล้วทิ้งไว้นานสารละลายเกลือจากขี้เถ้าก็ซึมลงดินบริเวณที่เผา ทุกอย่างจึงต้องแย่งชิงให้ถูกจังหวะ นำขี้เถ้าชื้นนั้นบรรจุในภาชนะทีเจาะรูด้านล่างไว้ อัดขี้เถ้าให้แน่นที่สุดเท่าที่ทำได้ เติมน้ำให้ได้ระดับเดียวกับขี้เถ้าก่อนกดอัด กรองเอาน้ำขี้เถ้าครั้งแรก แล้วเติมน้ำอีกเท่าเดิม กรองเอาน้ำขี้เถ้าครั้งที่สอง รวมกันกับน้ำขี้เถ้าครั้งแรก จะได้น้ำขี้เถ้าเค็มพอดีกับการใช้งานต่อไป



ขั้นตอนการย้อมสีคราม



ขั้นตอนการทำสีครามด้วยวิธีธรรมชาติจากเปลือกไม้
วัตถุดิบที่ใช้ในการย้อมสีผ้าด้วยน้ำคราม ได้แก่ ใบคราม ต้นคราม เป็นไม้พุ่มล้มลุก ปลูกด้วยเมล็ด เมื่อต้นครามอายุได้ ๓-๔ เดือน ใบและกิ่งจะให้สีน้ำเงิน ดังภาพค่ะ



การเตรียมใบคราม
๑. เมื่อต้นครามีอายุ ๔ เดือน ใบจะแก่พอเหมาะให้เริ่มเก็บเกี่ยวคราม ด้วยน้ำทั้งกิ่งและใบมามัดรวมกันเป็นก้อนๆ ขนาดก้อนละ ๕๐๐ กรัม
๒. นำกิ่งและใบครามที่ทำเป็นมัดลงไปแช่น้ำ ๑๘-๒๔ ชั่วโมง
๓. แยกกากใบทิ้ง เติมปูนกินหมากลงไปที่ละน้อย จนน้ำครามเหลืองเข้มมีฟองสีน้ำเงิน
๔. ตีน้ำคราม (กวนคราม) ให้เกิดฟองมากๆ ๑๕-๓๐ นาที แล้วพักไว้ ๑ คืน
๕. ครามจะตกตะกอนปนกับปูนขาว เทของเหลวใสสีน้ำตาลชั้นบนทิ้ง
๖. เนื้อคร

ขั้นตอนการทอผ้าและผลิตภัณฑ์จากคราม


วิธีการมัดหมี่
        หลังจากลอกลายตามรอยฉลุแล้ว ใช้เชือกฟางมามัดให้แน่นเพื่อป้องกันสีซึมเข้าในข้อหมี่ หลังจากมัดเสร็จก็จะได้ลายที่พิมพ์มาจากคอมพิวเตอร์ทันที
การมัดโอบหมี่
การมัดโอบคือ การมัดหมี่ครั้งที่สองเพื่อเก็บสีลายจากการมัดครั้งที่หนึ่งไว้ หลังจากการมัด โอบเสร็จแล้วนำหัวหมี่มาย้อมเป็นครั้งที่ 2 เพื่อจะให้หมี่เป็นลายอีกสีหนึ่งขั้นตอนการย้อมโอบจะทำอยู่หลายครั้งเมื่อต้องการลวดลายหลากหลายสีขึ้นอยู่กับลายที่จะนำมามัดหรือสีสันที่ต้องการ 
  การย้อมสี
        หลังจากการกรองคราม (เก็บเนื้อครามไว้) เวลาจะใช้ต้องนำเนื้อครามที่เก็บไว้ออกมาผสมกับน้ำด่างที่แช่ไว้ ในปริมาณครามประมาณ 1 ขีด ผสมกับน้ำด่าง 1 ขัน ต่อ 1 หม้อ ในการย้อม 1 ครั้ง และ1 ครั้ง และสามารถเพิ่มส่วนผสมทุกครั้งที่จะย้อม ไม่ต้องเปลี่ยนหม้อหรือล้างหม้อครามโดยเติมในอัตราดังที่กล่าวมาคลิกเพื่อดูขั้นตอนการย้อมคราม
ขั้นตอนการปั่นหลอด หรือกรอบหมี่


        1. แก้หมี่ที่มัดเป็นเปราะๆ ออกก่อน (การแก้หมี่ คือการแก้เชือกฟางที่มัดให้เป็นลวดลายต่างๆ ออกให้หมด )
        2.  นำปอยหมี่ที่แก้เสร็จขึงใส่กง แล้วดึงเงื่อนเส้นหมี่มาผูกติดกับหลอดที่อยู่เข็มไนใช้มือปั่นหลา หรือไนโดยการหมุนเวียนซ้ายไปตลอด
        3. เมื่อครบขีนของลายทันที แล้วปลดออกจากหลาหรือไนเก็บไว้เพื่อทอต่อไป

ขั้นตอนการสืบหูก
        1.  นำหมี่ที่ย้อมสีเสร็จแล้ว มากางเพื่อดึงให้เส้นหมี่ตึงเท่ากันจน        2. นำหมี่ที่ตึงเท่ากันแล้วมาต่อใส่ฟืม โดยการผูกติดกับกกหูก(กกหูก คือ ปมผ้าเส้นหมี่เดิมที่ทอติดไว้กับฟืมโดยไม่ตัดออกเพื่อที่จะต่อเครือหูกไว้ทอครั้งต่อไป

วิธีการกางหูก
         1. นำฟืมที่สืบเครือหูกแล้วไปกางใส่กี่ โดยดึงหมี่ตึงสม่ำเสมอทุกเส้น         2.  หูกที่กางเสร็จแล้วจะต้องเรียงเส้นหมี่หลังฟืม โดยแยกเส้นหมี่ออกไม่ให้ติดกันความยาวประมาณ 1 เมตร         3. นำไม้หลาวกลม 2 อัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. มาสอดคั่นให้เส้นหมี่ของเครือหูกไขว้กันเป็นกากบาทอยู่หลังฟืม เพื่อให้เลื่อนฟืมไปข้างหน้าในเวลาทอได้สะดวก
ขั้นตอนในการทอผ้า

        1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง        
 2.  เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ         
3. การกระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา 
 4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ให้พอเหมาะามที่ได้จะเก็บไว้ใช้ได้นาน
ผลัตภันฑ์สำหรับผ้าคราม




ขอบคุณสำหรับความรู้
คุณยายเลียบ หอมสมบัติ
บ้านดงเสียว จังหวัดสกลนคร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น